Subhawanich Accounting & Consulting Networks
  |  
 
ค้นหาสินค้าในเว็บ
ประเภทสินค้า
สินค้าแนะนำ
สินค้ายอดนิยม
สินค้ามาใหม่ล่าสุด

Language switching is at the top-right corner.

 

ประเภทสินค้า : บริหารงานบุคคล » จัดทำข้อบังคับการทำงาน
จัดทำข้อบังคับการทำงาน
ปรับปรุงล่าสุด : 7/12/2554
303
จัดทำข้อบังคับการทำงาน

ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

           มาตรา 108–111 คือ เอกสารที่นายจ้างแต่ละสถานประกอบกิจการ จักต้องจัดให้มีขึ้นเพื่อกำหนดนโยบาย สิทธิ หน้าที่ และแนวทางปฏิบัติต่อกันระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานจึงเปรียบเสมือน “กฎหมายภายในองค์การ” ที่ใช้บังคับระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ซึ่งหากได้กำหนดไว้อย่างถูกต้องและครบถ้วน ก็จะทำให้การบริหารงานบุคคลของนายจ้างเป็นไปโดยมีประสิทธิภาพ

           การออก “ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน” เป็นหน้าที่ของนายจ้างซึ่งมีลูกจ้างตั้งแต่  10 คนขึ้นไปจักต้องจัดให้มีขึ้น โดยนายจ้าง

  1. ต้องทำเป็นภาษาไทย
  2. ต้องมีรายละเอียด เกี่ยวกับรายการให้ครบถ้วน 8 ข้อตามที่กฎหมายกำหนด
  3. ต้องประกาศใช้ข้อ บังคับเกี่ยวกับการทำงานภายใน 15 วันนับแต่วันที่นายจ้างมีลูกจ้างตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป
  4. ต้องจัดเก็บสำเนาข้อบังคับไว้ ณ สถานประกอบกิจการหรือสำนักงานของนายจ้างตลอดเวลา
  5. ต้องส่งสำเนาข้อบังคับให้แก่อธิบดีกรม สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายภายใน 7 วันนับแต่วันประกาศใช้บังคับ
  6. ต้องแก้ไขข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่ขัดต่อ กฎหมายตามคำสั่งของอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานหรือ ผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนด
  7. ต้องเผยแพร่และปิดประกาศข้อบังคับเกี่ยวกับการ ทำงานโดยเปิดเผย ณ สถานที่ทำงานของลูกจ้างเพื่อให้ลูกจ้าง ได้ทราบและดูได้โดยสะดวก
  8. ต้องประกาศข้อบังคับฉบับที่มีการแก้ไขเพิ่ม เติมภายใน 7 วันนับแต่วันที่ประกาศใช้ข้อบังคับที่ แก้ไขเพิ่มเติม และต้องปฏิบัติตามข้อ 4 ถึง ข้อ 7 ในส่วนที่เกี่ยวกับข้อบังคับฉบับแก้ไขเพิ่มเติมด้วย

ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานต้องมีรายการ 8 ข้อตามกฎหมายกำหนด คือ

  1. วันทำงาน เวลาทำงานปกติและเวลาพัก
  2. วันหยุดและหลักเกณฑ์ การหยุด
  3. หลักเกณฑ์การทำงาน ล่วงเวลาและการทำงานในวันหยุด
  4. วันและสถานที่จ่าย ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด
  5. วันลาและหลักเกณฑ์ การลา
  6. วินัยและโทษทางวินัย
  7. การ ร้องทุกข์ (ซึ่งต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับขอบเขตและความหมายของข้อร้องทุกข์ วิธีการและขั้นตอนการร้องทุกข์ การสอบสวนและพิจารณาข้อร้องทุกข์ กระบวนการยุติข้อร้องทุกข์ และความคุ้มครองผู้ร้องทุกข์และผู้เกี่ยวข้อง)
  8. การเลิกจ้าง ค่าชดเชย และค่าชดเชยพิเศษ
 
 

 

Advertising Zone    Close


Online: 1 Visits: 21,055 Today: 18 PageView/Month: 185

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...